วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

สถานที่ใกล้เคียงสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ


น้ำตกแก่งกุลา
น้ำตกแก่งกุลา ตั้งอยู่บ้านโคกตาดทอง หมู่5 อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 4,800 เมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวบ้านอำเภอวาริชภูมิ และอำเภอใกล้เคียง และมีการจัดงานทุกปีในช่วงเดือนกันยายน
วัดถ้ำพุทธไสยาสถ์
วัดถ้ำพุทธไสยาสถ์ ตั้งอยู่บนเขา ห่างจากบ้านโคกตากทอง หมู่5 ประมาณ 2,800 เมตร เหมาะแก่การบำเพ็ญศีลภาวนา และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับทุกคน

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

ระบบสารสนเทศ

ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ ของสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ
  ให้มีความทันสมัยและมีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสภาพสังคมในยุค ปัจจุบัน           1.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 
1.1แนวทางการ ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำ 1.2แนวทางการ ขยายเขตไฟฟ้า ปรับปรุง บำรุงรักษา ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
1.3 แนวทางการ ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ระบบประปา
1.4 แนวทางการ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
     2.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ 
2.1 แนวทางการพัฒนา การส่งเสริมการประกอบอาชีพและการพัฒนากกลุ่มอาชีพเพื่อยกระดับรายได้     3.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา การกีฬา ศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี 
3.1 แนวทางการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง 
3.2 แนวทางการพัฒนาด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและจัดสวัสดิการสังคม 
3.3 แนวทางการพัฒนาด้านการศึกษา และยกระดับการศึกษาให้มีคุณภาพและเสมอภาค 
3.4 แนวทางการสนับสนุนงานประเพณีท้องถิ่น ศาสนาและวัฒนธรรม 
3.5 แนวทางการพัฒนาด้านกีฬาและนันทนาการ 
      4. ยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 
4.1 แนวทางการส่งเสริมกิจการงานสาธารณสุขและป้องกันโรคติดต่อ 
4.2 แนวทางการสร้างจิตสำนึกรักและหวงแหนในคุณค่าของธรรมชาติ 
4.3 แนวทางการดูแลแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ 
      5. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาบริหารจัดการ 
5.1 แนวทางการ พัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน 
5.2 แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงการอำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชน 
5.3 แนวทางการพัฒนาปรับประสิทธิภาพอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ 
5.4 แนวทางการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของหน่วยงาน

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

พระมหากรุณาธิคุณ

     
    วันนี้มีความมั่งคั่งและมั่นคงสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด ตั้งอยู่ที่บ้านป่าโจด ต.ค้อเขียว อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 304 คน ทุนเรือนหุ้น 4,833,540 บาท สหกรณ์แห่งนี้เริ่มต้นจากการรวมกลุ่มของผู้ทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2535 ตั้งอยู่เลขที่ 18 หมู่ 4 บ้านป่าเลี้ยงสัตว์บ้านป่าโจด ต.ค้อเขียว จำนวน 32 ราย ซึ่งได้รับการส่งเสริมเกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์โค และการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์  เพื่อจำหน่ายให้แก่กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาได้นำโคพันธุ์แท้จากต่างประเทศมาบริการผสมเทียม เพื่อผลิตลูกโคจำหน่ายให้กับองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.)จนถึงปีพ.ศ.2538ทางอ.ส.ค.ได้งดซื้อลูกโคนม
          ปี พ.ศ. 2538 ทางกรมปศุสัตว์ จึงได้ร่วมกับจังหวัดสกลนครดำเนินโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมระยะที่ 1 โดยมีเป้าหมายกับกลุ่มที่ตั้งไว้เพื่อสนองพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ให้มีการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมขึ้นในจังหวัดสกลนคร ต่อมาสมาชิกกลุ่มฯ ได้รวบรวมเงินที่เป็นการบริจาคไปซื้อที่ดินเนื้อที่ 2 ไร่ เพื่อสร้างที่ทำ การกลุ่มฯ และได้รับการสนับสนุนจากสมาชิก  สภาจังหวัด เขตอำเภอวาริชภูมิในสมัยนั้นและ   สมาชิกกลุ่มได้ร่วมแรงกันสร้างคอกรีดนมขนาด 9ช่องรีดขึ้น
          ปี พ.ศ. 2539 ได้เริ่มรีดนมวัวตัวแรกและได้ขยายผลให้มีการเลี้ยงโคนมมากขึ้นพร้อมขยายงานเพิ่มเติมโดยจัดซื้อหม้อต้มนมระบบแก๊ส  2 ชุด ก่อสร้างอาคารศูนย์รวมนม ที่ได้การสนับสนุนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ปี พ.ศ. 2530 ทางกลุ่มฯ เริ่มผลิตนมพาสเจอไรซ์บรรจุถุง ถุง ละ 200 ซีซี  ออกจำหน่าย จนถึงปี พ.ศ. 2534 ก็เริ่มประสบปัญหาในด้านการตลาด เนื่องจากมีปริมาณน้ำนมดิบที่เหลือจากการแปรรูปมากขึ้น หลายส่วนงานได้เข้ามาให้การช่วยเหลือ โดยจัดหาตลาดให้ในที่สุดทางบริษัทอุตสาหกรรมนมไทย จำกัด (ตรามะลิ) ได้เล็งเห็นว่ากลุ่มฯ มีศักยภาพที่จะขยายงานได้อีกมากและเพียงพอต่อความต้องการของตลาด ที่สำคัญคุณภาพได้มาตรฐานที่ตลาดต้องการ จึงเสนอขอรับซื้อน้ำนมดิบจากกลุ่มฯ แต่จะต้องแปรสภาพกลุ่มฯ ให้เป็นสหกรณ์โคนมก่อน จวบจนถึงปี พ.ศ. 2535 จึงได้จัดตั้งเป็นสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด ขึ้น มีสมาชิกแรกตั้ง 194  ครอบครัวแบ่งเป็น 16 กลุ่ม มีโคนมจำนวน 540 ตัว และมีหุ้นแรก19,400บาทดำเนินงานครอบคลุมออกไปทุกๆอำเภอในจังหวัดสกลนคร
          ต่อมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยกิจการสหกรณ์ฯ และ ได้เสด็จฯ เยี่ยมครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2536 ครั้งที่สาม เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2537 ครั้งที่สี่ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2539 ทรงมีพระราชดำริแนะนำเพื่อการดำเนินงานและพระราชทานความช่วยเหลือแก่สหกรณ์ฯ
          โดยพระราชทานเงินทุนจากมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน 1,200,000 บาท ให้สหกรณ์กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนระยะยาว ซึ่งสหกรณ์ได้นำมาใช้ก่อสร้างอาคารรับนมดิบโกดังเก็บอาหารสัตว์ หอถังพักน้ำ ปรับปรุงต่อเติมขยายโครงการไฟฟ้าในพื้นที่ ซื้อเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบ ซื้อที่ดินเพิ่มเติม
          จวบจนปี พ.ศ. 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถังเก็บน้ำนมดิบขนาดความจุ 10,000 ลิตร (10 ตัน) พร้อมระบบทำความเย็นแบบแผ่นแลกเปลี่ยนความเย็น มูลค่า 2,568,000 บาท
          ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปลายปี พ.ศ. 2537 พร้อมพระราชทานทุนการศึกษาต่อให้แก่ บุตรสมาชิก 3 คน เมื่อเรียนจบแล้วจะได้มาปฏิบัติงานในสหกรณ์ทรงมีพระราชดำริให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ช่วยเหลือเงินทุนเพื่อจัดซื้อเครื่องจักรผลิตนมพาสเจอไรซ์ซึ่งสหกรณ์ฯได้รับงบให้เปล่าจากงบพัฒนาจังหวัด1,309,000 บาท และงบจากกอง ทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (ค.ช.ก.) ผ่านกรม   ส่งเสริมสหกรณ์ให้กู้ยืมไม่คิดดอกเบี้ยจำนวน4,000,000บาท
          จัดซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ผลิตนมพาสเจอไรซ์ขนาดกำลังการผลิต 500 ลิตรต่อชั่วโมง แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2538 มีประสิทธิภาพในการผลิตนมพร้อมดื่ม 2,500 ถุงต่อชั่วโมง และพระราชทานเงินทุนเพื่อใช้หมุนเวียน จำนวน 1,090,000 บาท จากเงินที่มีผู้บริจาคทูลเกล้าฯ เมื่อครั้งเสด็จฯ เปิดโรงงานผลิตอาหารสัตว์สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด เมื่อวันที่ 26  กุมภาพันธ์ 2538 ทำให้สหกรณ์สามารถแก้ไขปัญหาเงินค้างจ่ายน้ำนมดิบแก่สมาชิกได้
          ทั้งนี้การดำเนินงานจะอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. สหกรณ์ มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ดูแลแนะนำตลอดเวลา การดำเนินงานของสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด เป็นที่ยอมรับว่าประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมาย ด้วยความร่วมแรงร่วมใจ และความสามัคคีซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิก คณะกรรมการและพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละสุจริต และบริหารงานตามกฎระเบียบของสหกรณ์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้ส่งผลให้สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด ได้รับการยกย่องให้เป็นสหกรณ์ดีเด่นประเภทสหกรณ์โคนมประจำปี 2543ที่ผ่านมา
          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินงานของสหการณ์ และพระราชทานความช่วยเหลือแก่สหกรณ์หลายด้าน อย่างต่อเนื่องตลอดมา จนสหกรณ์สามารถยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้ สมาชิกอยู่ดีกินดี สร้างความปลื้มปีติอย่างล้นพ้น แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ที่ทรงบรรเทาความทุกข์ร้อนของราษฎร ยกฐานะและคุณภาพชีวิตของพสกนิกรให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา นับเป็นพระมหากรุณาอย่างล้นพ้นต่อราษฎรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงโคนม

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

การตรวจประเมิน GMP ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ
นายสัตวแพทย์สุทิน   กาญจนรัช  ผู้อำนวยการส่วนการรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์   สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 4 และคณะกรรมการ ตรวจประเมิน GMP ศูนย์รวมน้ำนมดิบ ได้เข้าตรวจประเมินและให้คำแนะนำการพัฒนาแก่สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ ตำบลค้อเขียว   อำเภอวาริชภูมิ 
จังหวัดสกลนคร    ให้สัตวแพทย์หญิงอมรรัตน์   สุวรรณรงค์   ให้การต้อนรับและ    ในโอกาสนี้ปศุสัตว์จังหวัดสกลนครร่วมตรวจปร
ะเมิน

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงการส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม จังหวัดสกลนคร

ความเป็นมา 
       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร  มีพระราชกระแสรับสั่งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แก้ไขปัญหาการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรอำเภอวาริชภูมิ ทั้งด้านการจัดการเลี้ยงดู การให้อาหารและพืชอาหารสัตว์สำหรับโคนม เพื่อพัฒนาการผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกร ลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น



วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556


น้ำตกแก่งกุลา อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยว ที่ต้องไปสักครั้ง


น้ำตกแก่งกุลา ตั้งอยู่บ้านโคกตาดทอง หมู่5 อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 4,800 เมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวบ้านอำเภอวาริชภูมิ และอำเภอใกล้เคียง และมีการจัดงานทุกปีในช่วงเดือนกันยายน




สถานที่ใกล้เคียงสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ

วัดถ้ำพุทธไสยาสถ์
วัดถ้ำพุทธไสยาสถ์ ตั้งอยู่บนเขา ห่างจากบ้านโคกตากทอง หมู่5 ประมาณ 2,800 เมตร เหมาะแก่การบำเพ็ญศีลภาวนา และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับทุกคน

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จากหนึ่ง . . . ขยายเป็นสอง
       
จากการที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจและทรงเยี่ยมเยียนประชาชน ไม่ว่าจะเป็นที่ไกลหรือที่ใกล้ ตามรอยบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ บ้านป่าโจดและบ้านดงบัง ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ค้อเขียว ซึ่งมีศูนย์รวมนมเล็กๆ เป็นของตนเอง ได้ร่วมกันขอจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรใช้ชื่อว่า "สหกรณ์โคนมวาริชภูมิจำกัด" มีสมาชิกผู้เลี้ยงโคนมรวม 194 ราย เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 



ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการดำเนินงานของสหกรณ์โคนมวาริชภูมิในปี 2535 ได้พระราชทานความช่วยเหลือและมีพระราชดำริ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา พิจารณาจัดหาถังเก็บน้ำนมดิบ และพิจารณาให้ความช่วยเหลือค่าใช้จ่าย โดยอาจให้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งพิจารณาจัดหาน้ำให้กับราษฎรบ้านป่าโจด และบ้านโคกตาดทองให้มีน้ำอุปโภค บริโภคและใช้สนับสนุนการเกษตรตลอดปี และด้วยพระวิสัยทัศน์ที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญ ด้านการศึกษาเรียนรู้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พิจารณาให้การศึกษาอบรม ความรู้แก่สมาชิกสหกรณ์และบุตรหลาน เพื่อให้ได้รับการศึกษามีความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่มาพัฒนา และกลับมาทำงานให้กับสหกรณ์ต่อไป

สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ

        สำหรับการดำเนินงานด้านการพัฒนาปศุสัตว์ โดยเฉพาะการเลี้ยงวัวนมนั้น ให้ดำเนินการสาธิตให้ราษฎรเลี้ยงวัวนมให้มากขึ้น โดยให้ราษฎรรวมกลุ่มกันดำเนินงานเป็นกลุ่มเล็กๆ ก่อน ต่อเมื่อมีความเข้าใจและได้ผลดีแล้ว ก็จะขยายเป็นระบบสหกรณ์ต่อไป
เมื่อเริ่มนับหนึ่ง . . . เป็นศูนย์รวมนม
        
คำอธิบาย: http://www.chaipat.or.th/chaipat_old/journal/apr98/dairy/m13s.jpgเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ กรมปศุสัตว์ จังหวัดสกลนครและสำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้ร่วมสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์รวมนม สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร ขึ้นในปี พ.ศ. 2529 ใช้ชื่อว่า "ศูนย์รวมนมภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" มีการดำเนินงานส่งเสริมการผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนมรายย่อย ให้สามารถผลิตนมสดที่มีความสะอาดบริสุทธิ์ และได้มาตรฐานสำหรับการบริโภค ตลอดจนสามารถจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร และด้วยพระเมตตาคุณอันใหญ่หลวงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่ประจักษ์แก่ราษฎรว่า ไม่เคยทรงทอดทิ้งราษฎร และทรงโอบอุ้มเกษตรกรทุกหมู่เหล่า เพื่อประโยชน์อันเป็นความสุขความอยู่ดีของราษฎร จึงพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในปี 2532 คำอธิบาย: http://www.chaipat.or.th/chaipat_old/journal/apr98/dairy/m3s.jpgให้ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้แก่เกษตรกรในเขตจังหวัดสกลนคร และนำน้ำนมดิบมาทำเป็นนมสดพาสเจอร์ไรส์ โดยดำเนินการเป็นขนาดเล็กเพื่อเป็นการสาธิต และเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรก่อน ไม่ได้ต้องการให้ดำเนินกิจการแบบธุรกิจการค้าขนาดใหญ่ ให้ดำเนินการค่อยๆ ขยายการผลิตน้ำนมไปเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อปฏิบัติตามพระราชดำริดังกล่าวแล้ว ก็เป็นที่สนใจและมีเกษตรกรสมัครเข้าเป็นสมาชิกมากขึ้นเป็นลำดับ

สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ

น้ำพระทัย . . . บนผืนดินอีสาน
       
เป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งนัก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จแปรพระราชฐาน เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรและงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริบนพื้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อปี 2528 ณ ที่ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พระองค์เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การดำเนินงานของสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร ซึ่งมีการดำเนินงานส่งเสริมราษฎรในบริเวณใกล้เคียง ให้มีอาชีพเลี้ยงโค เพื่อผลิตน้ำนม อันจะเป็นแหล่งอาหารคุณภาพสำหรับเด็ก เยาวชนและราษฎรในบริเวณใกล้เคียง ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล และเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพอนามัย ของราษฎรในการบริโภคอาหารที่มีคุณประโยชน์ เป็นอันดับแรก ผนวกกับพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนา ที่เน้นการใช้วิธีที่ง่ายๆ แก้ไขสิ่งที่ยาก จากเริ่มต้นด้วยระดับเล็กๆ ไปสู่ระดับกว้างขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป พระองค์จึงมีพระราชประสงค์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดตั้งศูนย์รวมน้ำนม ให้เป็นสถานที่รับซื้อน้ำนมดิบ เพื่อนำมาผลิตนมสดพาสเจอร์ไรส์และช่วยเหลือราษฎรในบริเวณนั้น โดยพระราชทานพระราชดำริ ให้สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ ร่วมกับปศุสัตว์จังหวัด และจังหวัดสกลนครพิจารณาจัดทำ "โครงการนมพาสเจอร์ไรส์" ในลักษณะเป็น Pilot Project โดยให้เริ่มดำเนินการและใช้เครื่องขนาดเล็กไปก่อน เพื่อใช้เป็นการทดสอบและวิจัยการแปรสภาพนมสด ตลอดจนการตรวจสอบคุณภาพนม และถ้าหากการทดลองดังกล่าวได้ผลดี และได้รับความสนใจจากผู้บริโภคและราษฎรในพื้นที่ ให้การสนับสนุนมากขึ้น ก็อาจปรับปรุงขยายการดำเนินงานในรูปแบบระบบสหกรณ์ คล้ายคลึงกับโครงการผลิตนมสด หนองโพที่จังหวัดราชบุรี และถ้ามีปริมาณนมสดเหลือมากพอก็อาจแปรสภาพเป็นนมผงให้มากขึ้น เพราะในสวนจิตรลดาเองก็ยังนำนมสดมาแปรสภาพทำเป็นนมผงอัดเม็ด ซึ่งได้รับความนิยมสูงมาก

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด เดินเครื่องโรงงานนมยูเอชที
นางสาวกุหลาบ นามแสงโคตร ผู้จัดการสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร กล่าวถึงการสร้างโรงงานนม
ยูเอชทีว่า เนื่องจากปัญหาในเรื่องของค่าจ้างในการผลิตนม ค่าขนส่งทั้งไป- กลับ ปัญหาเรื่องคุณภาพของนม และปัญหา
เรื่องนมล้นตลาดในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งผู้ประกอบการรับซื้อน้้านม ไม่สามารถรองรับน้้านมเราได้หมด ท้าให้นมที่เหลือ
เน่าเสีย และต้องเททิ้ง จึงท้าให้มีแนวคิดที่จะสร้างโรงผลิตนมยูเอชทีขึ้นมา เพื่อรองรับปัญหาตรงนี้ ซึ่งได้เริ่มด้าเนินการ
ตั้งวันที่ 24 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา โดยงบประมาณที่น้ามาใช้ในการก่อสร้างจ้านวน 46 ล้านบาท ซึ่งได้มาจากการรับ
ฝากเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสกลนคร จ้ากัด โดยโรงงานนมยูเอชทีนี้ จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเกษตร
ที่เลี้ยงโคนมว่า ช่วงปิดเทอมไม่ต้องหวั่นวิตกว่า นมจะเททิ้ง และโคนมเป็นอาชีพที่เกษตรกรมั่นใจได้ว่า มั่นคงไปตลอด
ไม่ว่าจะเป็นช่วงปิดภาคเรียน หรือเปิดภาคเรียน อย่างไรก็ดี สหกรณ์ได้รับการแนะน้าจากบริษัทอุตสาหกรรมนมไทย
ช่วยแนะน้าในการจัดการวางแผนการผลิต และการควบคุมก้าลังคน
ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตของโรงงานนมยูเอชที เฉลี่ยละ 10 ตัน/วัน อาทิตย์ละ 6 วัน ส่วนปริมาณการรับซื้อน้้านม
ดิบจากเกษตรกร 24 ตัน/วัน โดยเกษตรกรโดยทั่วไปสหกรณ์จะรับซื้อตามราคากลาง คือ กิโลกรัมละ 17 บาท แต่สมาชิก
สหกรณ์จะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 16.60 บาท เพราะมีส่วนต่างในเรื่องของต้นทุน และการปันผลในช่วงสิ้น
ปีงบประมาณ อย่างไรก็ตาม นมยูเอชที ที่สหกรณ์ผลิตได้ จะน้าส่งให้กับโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน เพียงแห่งเดียว
เพราะสหกรณ์ผลิตแต่นมชนิดจืดเท่านั้น และส่วนนมพาสเจอร์ไรส์ เราจะส่งเฉพาะโครงการนมโรงเรียน โดยช่วงเปิด
เทอมจะส่งเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ ช่วงปิดเทอมจะเป็นนมกล่องโดยที่สหกรณ์ผลิตเอง โดยปริมาณนมที่สหกรณ์ผลิตส่ง
ให้กับโครงการนมโรงเรียนจะอยู่ที่ 130,000 ถุง/วัน ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร และพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง อาทิ จังหวัด
อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร หนองคาย และกาฬสินธุ์
นอกจากนี้ ยังการแลกเปลี่ยนสินค้านมกล่อง กับวัตถุดิบ เช่น มันเส้น ร้าอ่อน กับทางประเทศลาว โดยวิธีการซื้อ
เงินสด ทางประเทศลาวก็ซื้อสดนมเราไป และทางเรา ก็ซื้อสดวัตถุดิบจากประเทศลาว มาจ้าหน่ายให้กับสมาชิก เพื่อ
น้าไปท้าเป็นอาหารให้กับโคนม แต่ก็ต้องดูภาวะราคาด้วย หากราคาแพงกว่าประเทศไทย เราก็จะไม่ซื้อ เพราะสหกรณ์จะ
เน้นในเรื่องของการลดต้นทุนให้กับสมาชิก
ก้าลังการผลิตของโรงงานนมยูเอชทีขณะนี้ 1.25 ตัน/ชั่วโมง ซึ่งสามารถที่จะพอเลี้ยงตัวเองไปได้ โดยไม่ต้อง
ไปอาศัยคนอื่นหายใจ ที่ผ่านมา ยอมรับว่า เราใช้จมูกคนอื่นหายใจ อย่างเช่น น้้านมดิบล้นตลาด ต้องไปอ้อนวอน
ผู้ประกอบการให้รับซื้อในราคาที่ต่้ากว่าทุน แต่หลังจากมีโรงงานนมยูเอชที เราสามารถพึ่งตัวเองได้ ทั้งนี้ หากมีก้าลังการ
ผลิตเหลือ ก็จะสามารถช่วยเหลือสหกรณ์อื่นๆ ได้อีกด้วย
โครงการในการช่วยเหลือสมาชิก สหกรณ์ได้ปล่อยสินเชื่อซื้อแม่โค เพื่อเป็นการเพิ่มวัตถุดิบให้กับสหกรณ์
สมาชิกก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และขยายฟาร์มสมาชิกขนาดเล็ก ให้เป็นฟาร์มขนาดกลาง และฟาร์มขนาดกลางให้เป็น
ฟาร์มขนาดใหญ่ ส่วนรายละเอียดของโครงการ สหกรณ์จะปล่อยเงินกู้ให้ กับสมาชิกรายละ 100,000 บาท สูงสุดไม่เกิน

200,000 บาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 9 บาท/ปี

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


นมพลาสเจอร์ไรส์
ผลิตภัณฑ์นมพลาสเจอร์ไรส์ มีให้เลือกมากมายหลายรส เช่น รสจืด รสหวาน รสโกโก้ และรสสตอเบอรี่ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดื่มได้ทุกเพศทุกวัย
เริ่มจากการนำน้ำนมดิบไปผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนแล้วส่งผ่านเข้าเครื่องตีไขมัน จากนั้นจึงผ่านเข้าเครื่องทำความเย็นอุณภูมิ 4 องศาเซลเซียส แล้วส่งเข้าเครื่องบรรจุ นมพลาสเจอร์ไรส์มีอายุการเก็บได้ประมาณ 3-4 วัน

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สหกรณ์โคนม วาริชภูมิเร่ง
เพื่อผลิตก้าวสู่อุตฯ อาเซียน

         สกลนคร/ เมื่อเร็วๆ นี้ ที่สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด บ้านป่าโจด ต.ค้อเขียว อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสหกรณ์ พร้อมร่วมประชุมกับฝ่ายปกครองในพื้นที่ คณะกรรมการ ตลอดจนผู้จัดการของสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ เพื่อรับทราบปัญหาและหาแนวทางพัฒนาสหกรณ์ฯ ทั้งนี้ สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด ได้เกิดขึ้นในปี 2535 จากการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ครอบคลุม 6 อำเภอ มีสมาชิกแรกเริ่ม 194 ครอบครัว แบ่งเป็น 16 กลุ่ม มีโคนม 540 ตัว และมีหุ้นแรกเพียง 19,400 บาท จนถึงปัจจุบันผ่านมา 20 ปี สหกรณ์โคนมวาริชภูมิได้มีการพัฒนามาตรฐานรวมถึงการเพิ่มจำนวนสมาชิกและปริมาณการผลิตอย่างต่อเนื่องทุกปี จนเป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพ และถือเป็นสหกรณ์โคนมที่ใหญ่และเข้มแข็งที่สุดในจังหวัดสกลนคร จนปัจจุบันมีน้ำนมดิบเข้าสู่สหกรณ์ฯ กว่า 30,000 ก.ก./วัน มีสมาชิก 152 ราย จำนวนโค 3,169 ตัว ครอบคลุม 10 อำเภอ สหกรณ์มีเครื่องจักรกำลังการผลิตนม UHT และนมพาสเจอร์ไรส์ อย่างละ 24,000 กก./วัน ได้นมส่งจำหน่ายเข้าโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน ครอบคลุม 5 จังหวัด มีรายได้เข้าสหกรณ์มากกว่าปีละ 335 ล้านบาท จากความสำเร็จดังกล่าวก็เป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการและการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

โดยสหกรณ์ได้ผลิตนมที่ได้มาตรฐานมาจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป ด้วยนโยบายตระหนักถึงคุณค่าของนมทุกหยด ใหม่ สด สะอาด มีคุณค่าทางโภชนาการ ผลิตตามมาตรฐาน GMP สากล ซึ่งสหกรณ์ได้จัดส่งนมไปยังพื้นที่ต่างๆ 56 สายใน 5 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดสกลนคร อุดรธานี หนองคาย นครพนม และกาฬสินธุ์ โดยมียอดในการจำหน่ายนมพาสเจอร์ไรส์กว่า 130,000 ถุงต่อวัน มีปริมาณธุรกิจกว่า 193 ล้านบาท ธุรกิจสินเชื่อ สหกรณ์ได้จัดเงินทุนเพื่อให้สมาชิกได้กู้ยืมไปประกอบอาชีพกว่า 5,000,000 บาท ธุรกิจ รับ-ฝากจากสมาชิกและสหกรณ์ในจังหวัดสกลนคร มีปริมาณธุรกิจกว่า 5.8 ล้านบาท ซึ่งในอนาคตจะเร่งผลิตให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น ให้มีความพร้อมเพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมอาเซียน ในปี 2558

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด ทุ่มงบประมาณสร้างโรงงานนมยูเอชที แก้ปัญหานมล้นตลาด คุณภาพต่ำ ช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ไม่ต้องสูญรายได้
    
 สกลนคร: นางสาวกุหลาบ นามแสงโคตร ผู้จัดการสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ  จำกัด จังหวัดสกลนคร กล่าวถึงการสร้างโรงงานนมยูเอชทีว่า เนื่องจากปัญหาในเรื่องของค่าจ้างในการผลิตนม ค่าขนส่งทั้งไป-กลับ ปัญหาเรื่องคุณภาพของนม  และปัญหาเรื่องนมล้นตลาดในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งผู้ประกอบการรับซื้อน้ำนม ไม่สามารถรองรับน้ำนมเราได้หมด ทำให้นมที่เหลือเน่าเสีย และต้องเททิ้ง  จึงทำให้มีแนวคิดที่จะสร้างโรงผลิตนมยูเอชทีขึ้นมา เพื่อรองรับปัญหาตรงนี้ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งวันที่ 24 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา โดยงบประมาณที่นำมาใช้ในการก่อสร้างจำนวน 46 ล้านบาท ซึ่งได้มาจากการรับฝากเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสกลนคร จำกัด โดยโรงงานนมยูเอชทีนี้ จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรที่เลี้ยงโคนมว่า ช่วงปิดเทอมไม่ต้องหวั่นวิตกว่า นมจะเททิ้ง และโคนมเป็นอาชีพที่เกษตรกรมั่นใจได้ว่า มั่นคงไปตลอดไม่ว่าจะเป็นช่วงปิดภาคเรียน หรือเปิดภาคเรียน  อย่างไรก็ดี สหกรณ์ได้รับการแนะนำจากบริษัทอุตสาหกรรมนมไทย ช่วยแนะนำในการจัดการวางแผนการผลิต และการควบคุมกำลังคน
     นางสาวกุหลาบ  กล่าวว่า ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตของโรงงานนมยูเอชที เฉลี่ยละ 10 ตัน/วัน อาทิตย์ละ 6 วัน ส่วนปริมาณการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร 24 ตัน/วัน  โดยเกษตรกรโดยทั่วไปสหกรณ์จะรับซื้อตามราคากลาง คือ กิโลกรัมละ 17 บาท แต่สมาชิกสหกรณ์จะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 16.60 บาท เพราะมีส่วนต่างในเรื่องของต้นทุน และการปันผลในช่วงสิ้นปีงบประมาณ อย่างไรก็ตาม นมยูเอชที ที่สหกรณ์ผลิตได้ จะนำส่งให้กับโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน เพียงแห่งเดียว เพราะสหกรณ์ผลิตแต่นมชนิดจืดเท่านั้น และส่วนนมพาสเจอร์ไรส์ เราจะส่งเฉพาะโครงการนมโรงเรียน โดยช่วงเปิดเทอมจะส่งเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ ช่วงปิดเทอมจะเป็นนมกล่องโดยที่สหกรณ์ผลิตเอง โดยปริมาณนมที่สหกรณ์ผลิตส่งให้กับโครงการนมโรงเรียนจะอยู่ที่  130,000 ถุง/วัน ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร และพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง อาทิ จังหวัดอุดรธานี นครพนม มุกดาหาร หนองคาย และกาฬสินธุ์  
     ผู้จัดการสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ  จำกัด กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังการแลกเปลี่ยนสินค้านมกล่อง กับวัตถุดิบ เช่น มันเส้น รำอ่อน กับทางประเทศลาว โดยวิธีการซื้อเงินสด ทางประเทศลาวก็ซื้อสดนมเราไป และทางเรา ก็ซื้อสดวัตถุดิบจากประเทศลาว มาจำหน่ายให้กับสมาชิก เพื่อนำไปทำเป็นอาหารให้กับโคนม แต่ก็ต้องดูภาวะราคาด้วย หากราคาแพงกว่าประเทศไทย เราก็จะไม่ซื้อ เพราะสหกรณ์จะเน้นในเรื่องของการลดต้นทุนให้กับสมาชิก
     “กำลังการผลิตของโรงงานนมยูเอชทีขณะนี้  1.25 ตัน/ชั่วโมง ซึ่งสามารถที่จะพอเลี้ยงตัวเองไปได้  โดยไม่ต้องไปอาศัยคนอื่นหายใจ ที่ผ่านมา ยอมรับว่า เราใช้จมูกคนอื่นหายใจ อย่างเช่น น้ำนมดิบล้นตลาด ต้องไปอ้อนวอนผู้ประกอบการให้รับซื้อในราคาที่ต่ำกว่าทุน แต่หลังจากมีโรงงานนมยูเอชที เราสามารถพึ่งตัวเองได้ ทั้งนี้ หากมีกำลังการผลิตเหลือ ก็จะสามารถช่วยเหลือสหกรณ์อื่นๆ ได้อีกด้วย

     นางสาวกุหลาบ กล่าวว่า ส่วนโครงการในการช่วยเหลือสมาชิก สหกรณ์ได้ปล่อยสินเชื่อซื้อแม่โค เพื่อเป็นการเพิ่มวัตถุดิบให้กับสหกรณ์  สมาชิกก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และขยายฟาร์มสมาชิกขนาดเล็ก ให้เป็นฟาร์มขนาดกลาง และฟาร์มขนาดกลางให้เป็นฟาร์มขนาดใหญ่  ส่วนรายละเอียดของโครงการ สหกรณ์จะปล่อยเงินกู้ให้ กับสมาชิกรายละ 100,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 9 บาท/ปี 

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ 2

-การวิเคราะห์สภาพเเวดล้อมภายนอก(อุปสรรคที่มากระทบ)

อุปสรรคของสหกรณ์โคนมวาริชภูมิคือ การรีดนมวัวในบางครั้งก้ไม่ได้น้ำนมตามที่ต้องการ หรือในบางครั้งการส่งนมมาที่สหกรณ์เกิดการล่าช้า ก็อาจทำให้นมบูดได้ จำนวนของของนมที่ได้ในเเต่ละวัน อาจไม่เปนไปตามที่ต้องการ

-วิเคราะห์กลยุทธ์เเละทางเลือกของกลยุทธ์(ข้อดี/ข้อเสีย)

ข้อดี
สหกรณ์โคนมวาริชภูมิมีกลยุทธ์ที่สามารถสร้างความสนใจ เเละความน่าเชื่อถือ โดยการ ผลิตนมที่ถูกต้องตามขั้นตอน สะอาด มีคุณภาพ อีกทั้งรสชาติของนมปรุงเเต่งที่อร่อย มีบุคลากรที่ดี สัญลักษณ์ของนมปรุงเเต่งที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ หรือรถขนส่งก็เป็นที่จดจำง่าย

ข้อเสีย
ในบางครั้งการผลิตนมเยอะเกินไป เเละส่งไปครั้งละมากๆ ทำให้มีนมเหลืออยู่จำนวนมาก อีกทั้งในฤดูร้อนจะยิ่งทำให้นมบูดง่าย

-วัตถุประสงค์
1.เพื่อผลิตนมดี มีคุณภาพ สู่ประชาชน
2.เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสมาชิกของสหกรณ์
3.เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับชุมชน



-เเผน

การดำเนินธุรกิจในระบบสหกรณ์
1. สมาชิกถือหุ้นในสหกรณ์มีสิทธิเป็นเจ้าของเท่าเทียมกัน เลือกตั้งสมาชิกด้วยกันจากที่ประชุมใหญ่เป็น “คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์” เข้ามาบริหารงานในสหกรณ์เท่ากับเป็นการบริหารงานโดยสมาชิก
2. มีพนักงานนำโดยผู้จัดการ ซึ่งสหกรณ์จ้างมาให้ทำงานต่างๆ แทนคณะกรรมการให้เป็นไปตามนโยบายแผนงาน มติของคณะกรรมการ
3. ทำธุรกิจเชิงพาณิชย์เช่นเดียวกับบริษัทแต่มุ่งช่วยเหลือสมาชิกให้ขยายผลผลิตได้แน่นอนยุติธรรม ราคาดี และจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพเพียงพอตามชนิดตามเวลาที่ต้องการตลอดจนสินค้าอุปโภคในราคาทุนมาบริการและมีกำไรยังมีการปันผลเฉลี่ยคืนให้สมาชิกอีกด้วย
4. การดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ. สหกรณ์ ข้อบังคับ ระเบียบ มติที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมคณะกรรมการ โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ดูแล แนะนำให้ถูกต้อง แต่มิใช่ควบคุม
5. ธุรกิจของสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด ได้แก่
5.1 รวบรวม ตรวจสอบ จัดเกรดน้ำนมดิบจากสมาชิก และเก็บรักษาเพื่อคงคุณภาพก่อนการส่งจำหน่าย
5.2 จัดการจำหน่ายน้ำนมดิบ และแปรรูปเป็นนมพลาสเจอร์ไรส์ รสจืด รสหวาน รสโกโก้ รสสตรอเบอร์รี่ ออกจำหน่าย
5.3 จัดหาอาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ชุดรีดนม ปุ๋ยเคมี ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่สมาชิก
5.4 ผลิตน้ำแข็งอนามัยราคาถูกไว้บริการแก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป

โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงมีพระราชดำริแนะนำและพระราชทานความช่วยเหลือแก่สหกรณ์ฯ ดังนี้
1. พระราชทานเงินทุนจากมูลนิธิชัยพัฒนาจำนวน 1,200,000.00 บาท ให้สหกรณ์กู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนระยะยาว สหกรณ์ได้นำมาใช้ก่อสร้างอาคารรับนมดิบ โกดังเก็บอาหารสัตว์ ถังพักน้ำ ปรับปรุงต่อเติมขยายไฟฟ้า ซื้อเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบ ซื้อที่ดินเพิ่มเติมได้ดำเนินการเสร็จเมื่อปลายปี 2537
2. พระราชทานถังเก็บน้ำนมดิบขนาดบรรจุ 10,000 ลิตร(10 ตัน) พร้อมระบบทำความเย็นแบบแผ่นแลกเปลี่ยนความเย็น (เพลท) มูลค่า 2,568,000.00 บาท ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2537
3. พระราชทานทุนการศึกษาต่อให้แก่บุตรสมาชิก 3 คน เมื่อเรียนจบแล้วจะได้มาปฏิบัติงานในสหกรณ์
4. ทรงมีพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือเงินทุนเพื่อจัดซื้อเครื่องจักรผลิตนม พลาสเจอร์ไรส์ ซึ่งสหกรณ์ฯ ได้รับงบให้เปล่าจากงบพัฒนาจังหวัด 1,309,000 บาท และงบกองทุนรวม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (พ.ช.ก.) ผ่านกรมส่งเสริมสหกรณ์ให้กู้ยืมไม่คิดดอกเบี้ย จำนวน 4,000,000 บาท ได้จัดซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ผลิตนมพลาสเจอร์ไรส์ ขนาดกำลังการผลิต 500 ลิตรต่อชั่วโมง แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2538 มีประสิทธิภาพในการผลิตนมพร้อมดื่ม 2,500 ถุงต่อชั่วโมง (ปัจจุบันสหกรณ์ขยายปรับปรุงเป็น 1,500 ลิตร/ชม.)
5. พระราชทานเงินทุนเพื่อไว้ใช้หมุนเวียนจำนวน 1,090,000 บาท จากเงินที่มีผู้บริจาค ทูลเกล้าเมื่อครั้งเสด็จเปิดโรงงานผลิตอาหารสัตว์สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2538 ทำให้สหกรณ์สามารถแก้ไขปัญหาจ่ายเงินค้างจ่ายค่าน้ำนมดิบแก่สมาชิก
6. สหกรณ์ได้รับเงินอุดหนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์จากโครงการเงินกู้ปรับโครงสร้าง ภาคเกษตรเป็นการปรับปรุงเครื่องจักรผลิตนมพลาสเจอร์ไรส์ จำนวน 6,300.00 บาท
ปัจจุบันสหกรณ์ได้ผลิตนม UHT โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาเสด็จประกอบพิธีเปิดโรงงานนม UHT เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554
หน่วยงานรับผิดชอบ คือ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร

-นโยบาย

มุ่งเน้นการผลิตนมคุณภาพดี พัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากร

-การปฏิบัติตามกลยุทธ์(การติดตามการประเมินผล)

สหกรณ์โคนมวาริชภูมิได้ปฏิบัติงานตามเเผนที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้การดำเนินงานเป็นได้ด้วยดี สหกรณ์ประสบความสำเร็จตามเเผนที่วางไว้


รูปภาพ