วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงการส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม จังหวัดสกลนคร

ความเป็นมา 
       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร  มีพระราชกระแสรับสั่งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แก้ไขปัญหาการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรอำเภอวาริชภูมิ ทั้งด้านการจัดการเลี้ยงดู การให้อาหารและพืชอาหารสัตว์สำหรับโคนม เพื่อพัฒนาการผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกร ลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น



วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556


น้ำตกแก่งกุลา อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยว ที่ต้องไปสักครั้ง


น้ำตกแก่งกุลา ตั้งอยู่บ้านโคกตาดทอง หมู่5 อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 4,800 เมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวบ้านอำเภอวาริชภูมิ และอำเภอใกล้เคียง และมีการจัดงานทุกปีในช่วงเดือนกันยายน




สถานที่ใกล้เคียงสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ

วัดถ้ำพุทธไสยาสถ์
วัดถ้ำพุทธไสยาสถ์ ตั้งอยู่บนเขา ห่างจากบ้านโคกตากทอง หมู่5 ประมาณ 2,800 เมตร เหมาะแก่การบำเพ็ญศีลภาวนา และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับทุกคน

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จากหนึ่ง . . . ขยายเป็นสอง
       
จากการที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจและทรงเยี่ยมเยียนประชาชน ไม่ว่าจะเป็นที่ไกลหรือที่ใกล้ ตามรอยบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ บ้านป่าโจดและบ้านดงบัง ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ค้อเขียว ซึ่งมีศูนย์รวมนมเล็กๆ เป็นของตนเอง ได้ร่วมกันขอจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรใช้ชื่อว่า "สหกรณ์โคนมวาริชภูมิจำกัด" มีสมาชิกผู้เลี้ยงโคนมรวม 194 ราย เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 



ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการดำเนินงานของสหกรณ์โคนมวาริชภูมิในปี 2535 ได้พระราชทานความช่วยเหลือและมีพระราชดำริ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา พิจารณาจัดหาถังเก็บน้ำนมดิบ และพิจารณาให้ความช่วยเหลือค่าใช้จ่าย โดยอาจให้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งพิจารณาจัดหาน้ำให้กับราษฎรบ้านป่าโจด และบ้านโคกตาดทองให้มีน้ำอุปโภค บริโภคและใช้สนับสนุนการเกษตรตลอดปี และด้วยพระวิสัยทัศน์ที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญ ด้านการศึกษาเรียนรู้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พิจารณาให้การศึกษาอบรม ความรู้แก่สมาชิกสหกรณ์และบุตรหลาน เพื่อให้ได้รับการศึกษามีความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่มาพัฒนา และกลับมาทำงานให้กับสหกรณ์ต่อไป

สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ

        สำหรับการดำเนินงานด้านการพัฒนาปศุสัตว์ โดยเฉพาะการเลี้ยงวัวนมนั้น ให้ดำเนินการสาธิตให้ราษฎรเลี้ยงวัวนมให้มากขึ้น โดยให้ราษฎรรวมกลุ่มกันดำเนินงานเป็นกลุ่มเล็กๆ ก่อน ต่อเมื่อมีความเข้าใจและได้ผลดีแล้ว ก็จะขยายเป็นระบบสหกรณ์ต่อไป
เมื่อเริ่มนับหนึ่ง . . . เป็นศูนย์รวมนม
        
คำอธิบาย: http://www.chaipat.or.th/chaipat_old/journal/apr98/dairy/m13s.jpgเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ กรมปศุสัตว์ จังหวัดสกลนครและสำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้ร่วมสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์รวมนม สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร ขึ้นในปี พ.ศ. 2529 ใช้ชื่อว่า "ศูนย์รวมนมภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" มีการดำเนินงานส่งเสริมการผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนมรายย่อย ให้สามารถผลิตนมสดที่มีความสะอาดบริสุทธิ์ และได้มาตรฐานสำหรับการบริโภค ตลอดจนสามารถจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร และด้วยพระเมตตาคุณอันใหญ่หลวงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่ประจักษ์แก่ราษฎรว่า ไม่เคยทรงทอดทิ้งราษฎร และทรงโอบอุ้มเกษตรกรทุกหมู่เหล่า เพื่อประโยชน์อันเป็นความสุขความอยู่ดีของราษฎร จึงพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในปี 2532 คำอธิบาย: http://www.chaipat.or.th/chaipat_old/journal/apr98/dairy/m3s.jpgให้ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้แก่เกษตรกรในเขตจังหวัดสกลนคร และนำน้ำนมดิบมาทำเป็นนมสดพาสเจอร์ไรส์ โดยดำเนินการเป็นขนาดเล็กเพื่อเป็นการสาธิต และเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรก่อน ไม่ได้ต้องการให้ดำเนินกิจการแบบธุรกิจการค้าขนาดใหญ่ ให้ดำเนินการค่อยๆ ขยายการผลิตน้ำนมไปเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อปฏิบัติตามพระราชดำริดังกล่าวแล้ว ก็เป็นที่สนใจและมีเกษตรกรสมัครเข้าเป็นสมาชิกมากขึ้นเป็นลำดับ

สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ

น้ำพระทัย . . . บนผืนดินอีสาน
       
เป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งนัก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จแปรพระราชฐาน เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรและงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริบนพื้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อปี 2528 ณ ที่ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พระองค์เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การดำเนินงานของสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร ซึ่งมีการดำเนินงานส่งเสริมราษฎรในบริเวณใกล้เคียง ให้มีอาชีพเลี้ยงโค เพื่อผลิตน้ำนม อันจะเป็นแหล่งอาหารคุณภาพสำหรับเด็ก เยาวชนและราษฎรในบริเวณใกล้เคียง ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล และเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพอนามัย ของราษฎรในการบริโภคอาหารที่มีคุณประโยชน์ เป็นอันดับแรก ผนวกกับพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนา ที่เน้นการใช้วิธีที่ง่ายๆ แก้ไขสิ่งที่ยาก จากเริ่มต้นด้วยระดับเล็กๆ ไปสู่ระดับกว้างขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป พระองค์จึงมีพระราชประสงค์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดตั้งศูนย์รวมน้ำนม ให้เป็นสถานที่รับซื้อน้ำนมดิบ เพื่อนำมาผลิตนมสดพาสเจอร์ไรส์และช่วยเหลือราษฎรในบริเวณนั้น โดยพระราชทานพระราชดำริ ให้สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ ร่วมกับปศุสัตว์จังหวัด และจังหวัดสกลนครพิจารณาจัดทำ "โครงการนมพาสเจอร์ไรส์" ในลักษณะเป็น Pilot Project โดยให้เริ่มดำเนินการและใช้เครื่องขนาดเล็กไปก่อน เพื่อใช้เป็นการทดสอบและวิจัยการแปรสภาพนมสด ตลอดจนการตรวจสอบคุณภาพนม และถ้าหากการทดลองดังกล่าวได้ผลดี และได้รับความสนใจจากผู้บริโภคและราษฎรในพื้นที่ ให้การสนับสนุนมากขึ้น ก็อาจปรับปรุงขยายการดำเนินงานในรูปแบบระบบสหกรณ์ คล้ายคลึงกับโครงการผลิตนมสด หนองโพที่จังหวัดราชบุรี และถ้ามีปริมาณนมสดเหลือมากพอก็อาจแปรสภาพเป็นนมผงให้มากขึ้น เพราะในสวนจิตรลดาเองก็ยังนำนมสดมาแปรสภาพทำเป็นนมผงอัดเม็ด ซึ่งได้รับความนิยมสูงมาก

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด เดินเครื่องโรงงานนมยูเอชที
นางสาวกุหลาบ นามแสงโคตร ผู้จัดการสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร กล่าวถึงการสร้างโรงงานนม
ยูเอชทีว่า เนื่องจากปัญหาในเรื่องของค่าจ้างในการผลิตนม ค่าขนส่งทั้งไป- กลับ ปัญหาเรื่องคุณภาพของนม และปัญหา
เรื่องนมล้นตลาดในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งผู้ประกอบการรับซื้อน้้านม ไม่สามารถรองรับน้้านมเราได้หมด ท้าให้นมที่เหลือ
เน่าเสีย และต้องเททิ้ง จึงท้าให้มีแนวคิดที่จะสร้างโรงผลิตนมยูเอชทีขึ้นมา เพื่อรองรับปัญหาตรงนี้ ซึ่งได้เริ่มด้าเนินการ
ตั้งวันที่ 24 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา โดยงบประมาณที่น้ามาใช้ในการก่อสร้างจ้านวน 46 ล้านบาท ซึ่งได้มาจากการรับ
ฝากเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสกลนคร จ้ากัด โดยโรงงานนมยูเอชทีนี้ จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเกษตร
ที่เลี้ยงโคนมว่า ช่วงปิดเทอมไม่ต้องหวั่นวิตกว่า นมจะเททิ้ง และโคนมเป็นอาชีพที่เกษตรกรมั่นใจได้ว่า มั่นคงไปตลอด
ไม่ว่าจะเป็นช่วงปิดภาคเรียน หรือเปิดภาคเรียน อย่างไรก็ดี สหกรณ์ได้รับการแนะน้าจากบริษัทอุตสาหกรรมนมไทย
ช่วยแนะน้าในการจัดการวางแผนการผลิต และการควบคุมก้าลังคน
ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตของโรงงานนมยูเอชที เฉลี่ยละ 10 ตัน/วัน อาทิตย์ละ 6 วัน ส่วนปริมาณการรับซื้อน้้านม
ดิบจากเกษตรกร 24 ตัน/วัน โดยเกษตรกรโดยทั่วไปสหกรณ์จะรับซื้อตามราคากลาง คือ กิโลกรัมละ 17 บาท แต่สมาชิก
สหกรณ์จะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 16.60 บาท เพราะมีส่วนต่างในเรื่องของต้นทุน และการปันผลในช่วงสิ้น
ปีงบประมาณ อย่างไรก็ตาม นมยูเอชที ที่สหกรณ์ผลิตได้ จะน้าส่งให้กับโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน เพียงแห่งเดียว
เพราะสหกรณ์ผลิตแต่นมชนิดจืดเท่านั้น และส่วนนมพาสเจอร์ไรส์ เราจะส่งเฉพาะโครงการนมโรงเรียน โดยช่วงเปิด
เทอมจะส่งเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ ช่วงปิดเทอมจะเป็นนมกล่องโดยที่สหกรณ์ผลิตเอง โดยปริมาณนมที่สหกรณ์ผลิตส่ง
ให้กับโครงการนมโรงเรียนจะอยู่ที่ 130,000 ถุง/วัน ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร และพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง อาทิ จังหวัด
อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร หนองคาย และกาฬสินธุ์
นอกจากนี้ ยังการแลกเปลี่ยนสินค้านมกล่อง กับวัตถุดิบ เช่น มันเส้น ร้าอ่อน กับทางประเทศลาว โดยวิธีการซื้อ
เงินสด ทางประเทศลาวก็ซื้อสดนมเราไป และทางเรา ก็ซื้อสดวัตถุดิบจากประเทศลาว มาจ้าหน่ายให้กับสมาชิก เพื่อ
น้าไปท้าเป็นอาหารให้กับโคนม แต่ก็ต้องดูภาวะราคาด้วย หากราคาแพงกว่าประเทศไทย เราก็จะไม่ซื้อ เพราะสหกรณ์จะ
เน้นในเรื่องของการลดต้นทุนให้กับสมาชิก
ก้าลังการผลิตของโรงงานนมยูเอชทีขณะนี้ 1.25 ตัน/ชั่วโมง ซึ่งสามารถที่จะพอเลี้ยงตัวเองไปได้ โดยไม่ต้อง
ไปอาศัยคนอื่นหายใจ ที่ผ่านมา ยอมรับว่า เราใช้จมูกคนอื่นหายใจ อย่างเช่น น้้านมดิบล้นตลาด ต้องไปอ้อนวอน
ผู้ประกอบการให้รับซื้อในราคาที่ต่้ากว่าทุน แต่หลังจากมีโรงงานนมยูเอชที เราสามารถพึ่งตัวเองได้ ทั้งนี้ หากมีก้าลังการ
ผลิตเหลือ ก็จะสามารถช่วยเหลือสหกรณ์อื่นๆ ได้อีกด้วย
โครงการในการช่วยเหลือสมาชิก สหกรณ์ได้ปล่อยสินเชื่อซื้อแม่โค เพื่อเป็นการเพิ่มวัตถุดิบให้กับสหกรณ์
สมาชิกก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และขยายฟาร์มสมาชิกขนาดเล็ก ให้เป็นฟาร์มขนาดกลาง และฟาร์มขนาดกลางให้เป็น
ฟาร์มขนาดใหญ่ ส่วนรายละเอียดของโครงการ สหกรณ์จะปล่อยเงินกู้ให้ กับสมาชิกรายละ 100,000 บาท สูงสุดไม่เกิน

200,000 บาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 9 บาท/ปี